“ทำไมปวดหลัง ปวดคอจังนะ” คำถามเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับคุณหรือไม่ ถ้าใช่คุณต้องถามตัวเองกลับว่า คุณนั่งทำงานหรือนั่งนานเกินไปหรือเปล่า เพราะถ้าใช่ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และทำให้คุณใช้ชีวิตลำบากมาก ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะมีอาการปวดหลัง ปวดคอไปหมด หรือเรียกง่ายๆว่า “ออฟฟิศซินโดรม”
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นอาการอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในหมู่พนักงานออฟฟิศ เนื่องจากมีการทำงานในลักษณะที่ต้องนั่งจ้องหน้าคอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมไปถึงนั่งทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางเดิมเป็นเวลานานด้วย และจากลักษณะการทำงานในรูปแบบนั้นเองจึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวดต่างๆรวมไปถึงอาจเกิดเป็นโรคตามมาได้ เช่น โรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบย่อยอาหาร นัยน์ตาและการมองเห็น เป็นต้น
ซึ่งอาการเจ็บปวดที่เรามักเห็นกันบ่อยๆเลยคืออาการเจ็บปวดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อย่างอาการปวดตึงบริเวณหลัง คอและบ่า ในบางคนอาจปวดร้าวไปถึงบริเวณศีรษะ หรือมีอาการชาที่บริเวณแขน สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากลักษณะหรือพฤติกรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานผิดท่าผิดวิธี นั่งก้มคอ หรือนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทางเลย
อาการ
1.มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ร่างกาย เช่น หลัง คอ บ่า ไหล่ สะบัก มีอาการปวดไปทุกบริเวณไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจนว่าปวดบริเวณใด โดยส่วนมากมักจะมีอาการปวดไม่รุนแรง แต่ก็สร้างความรำคาญได้ บางรายถ้าสะสมมากๆอาจจะเพิ่มความรุนแรงของอาการปวดได้
2.บางรายมีอาการเหน็บชา เย็นวูบๆ ขนลุก และมีเหงื่อออกบริเวณที่ปวด หรืออาจมีอาการหูอื้อ ตาพร่ามัวร่วมด้วย
- หากในบางรายมีการกดทับเส้นประสาทจะทำให้มีอาการชาไปตั้งแต่บริเวณแขนไปจนถึงมือ ทำให้มีอาการอ่อนแรงด้วย
วิธีการรักษา
1.ยืดกล้ามเนื้อให้ถูกวิธีด้วยตัวเอง
2.รักษาโดยการทำกายภาพบำบัด
- ประคบน้ำอุ่น หรือแช่น้ำอุ่น
4.รับประทานยา หรือทายา
5.นวดแผนไทย
6.ฝังเข็ม
7.รับการรักษาจากสถานพยาบาลที่ให้บริการในผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรมโดยเฉพาะ
8.การรักษากับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ
การป้องกัน
1.หมั่นออกกำลังกายโดยหาท่าออกำลังกายที่เหมาะสมกับอาการ ที่สำคัญก่อนและหลังการออกกำลังกายควรยืดกล้ามเนื้อยืดเส้นทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นของร่างกาย
2.ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการนั่งทำงาน เช่น การปรับระดับคอมพิวเตอร์ให้พอดีกับสายตา ไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป การปรับระดับเก้าอี้และโต๊ะ ให้สามารถนั่งทำงานได้สบาย ไม่ต้องก้มๆเงยๆ
3.ปรับเปลี่ยนลักษณะหรือพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ เช่น เปลี่ยนท่าในการนั่งทำงานทุกๆชั่วโมง รหือระหว่างทำงานมีการยืดกล้ามเนื้อยืดเส้นบ้าง
ออฟฟิศซินโดรมนั้นไม่ได้เกิดแค่ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศเท่านั้น แต่เกิดได้ขึ้นกับทุกคนที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมคล้ายกับพนักงานออฟฟิศ ดังนั้นหากต้องนั่งเป็นเวลานานๆก็ควรเปลี่ยนท่าทางบ้าง หรือปรับระดับโต๊ะ เก้าอี้ จะได้ไม่ต้องมีอาการออฟฟิศซินโดรมตามมาทีหลังให้รำคาญใจ
ได้รับการสนับสนุนโดย sexybaccarat